วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความเป็นมาและยุคของคอมพิวเตอร์

ความหมาย และความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
        หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูง อย่างต่อเนื่อง และอัตโนมัติ
          การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมรประกบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่งแอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด
แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่งสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา
ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น
 2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่และหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสินที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถ้าเก้าไปสิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

มาร์ค วัน
อินิแอค
ยูนิแวค

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง                      
            
                      
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง

                                                               
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5

คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง



อ้างอิง  :  http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/profile.html
  http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_02.htm

บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์



Charles Babbage
ชาร์ลส์ แบบเบจ
บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
(1791-1871)

ประวัติ : Charles Babbage (26 ธันวาคม 1791 – 18 ตุลาคม 1871) เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาวิเคราะห์ และเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาเป็นคนแรก ที่มีแนวคิดเรื่องเครื่องคำนวณที่สามารถโปรแกรมหรือสั่งให้ทำงานได้ เครื่องในจินตนาการของเขายังไม่เสร็จสมบูรณ์ เขาก็เสียชีวิตก่อนที่จะได้เห็นความฝันของเขาเป็นจริง ปัจจุบันนี้ผลงานของเขาไว้ถูกเก็บและแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ลอนดอน ผลงานนั้นคือเครื่องคำนวณหาผลต่าง (Difference Engine) และเมื่อปี 1991 นี้เองที่เครื่องหาผลต่างนี้ถูกสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ตามแบบที่ Babbage ได้ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าเครื่องจักรจากแนวคิดของเขาทำงานได้จริงแล้ว
ผลงาน : เครื่องคำนวณหาผลต่าง differential machine และเครื่องวิเคราะห์ analytical machine



Lady Augusta Ada Byron  
เอดา ไบรอน เลิฟเลซ
โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
(1816-1852)

ประวัติ : เอดา เลิฟเลซ เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่น่าเรียนรู้ชีวประวัติท่านเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นผู้หญิงที่เก่งทั้งในด้านกาพย์กลอนและคณิตศาสตร์ และได้รับยกย่องให้เป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลกจากผลงานที่ท่านช่วยให้เครื่องจักร analytical engine ที่ออกแบบโดย ชาร์ลส์ แบบเบจ สามารถรับโปรแกรมและทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมได้ โดยท่านได้เสนอเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบวนรอบซ้ำ ๆ ที่เรียกว่า loop การเขียนโปรแกรมแบบวนรอบบนี้สำคัญมาก เพราะถ้าหากไม่ใช้แนวคิดนี้แล้วโปรแกรมที่เขียนจะมีความยาวมาก และผิดพลาดได้ง่ายและการใช้โปรแกรมย่อย (subroutine) เพื่อคำนวณฟังก์ชันก์ย่อยที่ได้ใช้งานบ่อย ๆ ฝังอยู่ในโปรแกรมหลัก โปรแกรมหลักสามารถเรียกใช้โปรแกรมย่อยทำงานได้เลยโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ ซึ่งในปัจจุับนนี้ทุกภาษาต่างก็มีความสามารถในการวนซ้ำ และการใช้โปรแกรมย่อย
ผลงาน : แนวความคิดการเขียนโปรแกรม เรื่องการโปรแกรมแบบวนซ้ำ (loop) และการใช้โปรแกรมย่อย (subroutine)


ERMAN   HOLLERITH
เฮอร์มาน ฮอลเลอริธ
(29 Feb 1860 - 17 Nov 1929)

ประวัติ : เฮอร์แมน ฮอลเลอริธ (Dr Herman Hollerith) ค.ศ. 1880 นักสถิติชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่ช่วยในการทำงานด้านสถิติเครื่องแรกขึ้น โดยใช้กับบัตรเจาะรูที่บันทึกได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษรและสัญญลักษณ์พิเศษเครื่องนี้ได้รับการปรังปรุงเรื่อยมา และใช้ประโยชน์ครั้งแรกในปี 1890 โดยใช้ใน งานประมวลผลด้านสำมะโนประชากรของสหรัฐเครื่องนี้สามารถอ่านบัตรได้ 250 บัตรต่อนาที และช่วยให้งานประมวลผลนี้เสร็จในเวลา 2 ปีครึ่ง จากเดิมที่ใช้เวลา 7 ปีครึ่ง (ใช้เวลาเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น) บัตรที่เฮอร์แมนคิดขึ้นมานี้เรียกว่า บัตรฮอลเลอร์ริท และรหัสที่เฮอร์แมนคิดขึ้นมาเรียกว่า รหัสฮอลเลอร์ริท บัตรของฮอลเลอริทยังคงใช้กันอยู่จนจึงปัจจุบัน และชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกบัตรนี้ก็คือ บัตร IBM หรือบัตร 80 คอลัมน์ เพราะบัตรดังกล่าวมี 80 คอลัมน์และบริษัท IBM เป็นผู้ผลิตนั่งเอง ในปี ค.ศ.1896 เขาได้ตั้งบริษัทนี้ได้ร่วมกับบริษัทอื่นๆ จัดตั้งเป็นบริษัทใหม่เรียกว่า International Business Machine Cor
ผลงาน : ได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่ช่วยในการทำงานด้านสถิติเครื่องแรกขึ้น


Alan Mathison Turing
อลัน มาธิสัน ทัวริง

ประวัติ : อลัน ทัวริง (Alan Turing) เกิด วันที่ 23 มิ.ย. 1912 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ เสียชีวิต วันที่ 7 มิ.ย. 1954 ที่เมืองวิล์มสโล อังกฤษ เขาได้คิดค้นเครื่องจักรทัวริง (Turing machine) เครื่องมือในฝันที่สามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง ถ้าเพียงแต่เราจะใส่วิธีทำลงไป ซึ่งกลายเป็นต้นแบบแรกเริ่มของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทัวริงแมชชีนเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ เพราะเป็นครั้งแรกที่เราแยก "อุปกรณ์" ออกจาก "ความสามารถของอุปกรณ์" นั้นได้ การทำงานของเครื่องไม่ได้ถูกกำหนดมาล่วงหน้า แต่ขึ้นอยู่กับวิธีทำหรืออัลกอริทึมที่แนบมาด้วย
ผลงาน : ทฤษฎีความสามารถคำนวณได้ของคอมพิวเตอร์ (Computability) , การทดสอบความฉลาดของ
คอมพิวเตอร์ (Turing test), เครื่องจักรทัวริง (universal Turing machine)


Konrad Zuse
คอนราด ซูส
(22 June 1910 - 18 Dec 1995)

ประวัติ : ในปี  (ค.ศ.1941) เป็นครั้งแรกที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Compute
Z3 ของประเทศเยอรมนี ออกแบบใน ค.ศ. 1941 โดย Konrad Zuse เป็นคอมพิวเตอร์ไฟฟ้า-จักรกลอเนกประสงค์เครื่องแรก มันเป็นคอมพิวเตอร์ดิจิทัล ใช้เลขคณิตฐานสอง เป็นทัวริงบริบูรณ์ และโปรแกรมได้เต็มที่ โดยใช้เทปเจาะรู แต่ใช้รีเลย์ในการทำงานทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่ใช่คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
ผลงาน : คอมพิวเตอร์ไฟฟ้า-จักรกลอเนกประสงค์เครื่องแรก



Professor Howard H. Aiken
โฮเวิร์ด เอช ไอเคน
(March 8, 1900 – March 14, 1973)

ประวัติ : โฮเวิร์ด เอช ไอเคน (Professor Howard H. Aiken)  ค.ศ.1937 ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณตามหลักการของแบบเบจได้สำเร็จ โดยนำเอาแนวคิดของ Jacquard และ Hollerith มาใช้ในการสร้างและได้รับการสนับสนุนจากวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1943 ในชื่อว่า Automatic Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK I Computer นับเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง จัดเป็น Digital Computer และเป็นเครื่องที่ทำงานแบบ Electromechanical คือเป็นแบบ กึ่งไฟฟ้ากึ่งจักรกล
ผลงาน : เครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่



Dr. John V. Atanasoff & Clifford Berry
ดร. จอห์น วี. อะทานาซอฟฟ์ & คลิฟฟอร์ด แบรี่

ประวัติ : ในปี ค.ศ.1937  ดร. จอห์น วี. อทานาซอฟฟ์ (John V Atanasoff) และ คลิฟฟอร์ด เบอรรี่ (Clifford Berry)ได้ออกแบบและสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก เครื่องนี้มีชื่อว่า คอมพิวเตอร์อทานาซอฟฟ์-เบอร์รี่ (Atanasoff-Berry-Computer) หรือเครื่อง ABC นั่นเอง ซึ่งเครื่อง ABC นี้ได้เตรียมพื้นฐานสำหรับคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์รุ่นหลัง ๆ
ผลงาน : ABC ,คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก



John W. Mauchly & J. Presper Eckert 
ดร. จอห์น ดับบลิว เมาชลี & เจ. เพรสเพอร์ เอคเคิร์ต

ประวัติ : ใน ปี ค.ศ. 1946 ดร. จอห์น ดับบลิว เมาชลี (John W. Mauchly และเจ. พรสเพอร์ เอคเคิร์ต(J. Presper Eckert )ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่เครื่องแรก เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไป เครื่องนี้มีชื่อว่า อินิแอค (ENIAC: Electronic Numerical Integrator and Computer) เครื่องนี้หนัก 30 ตัน ประกอบด้วยหลอดสุญญากาศ 18,000 หลอด กินพื้นที่ถึง 30x50 ช่วงก้าว ใช้กำลังไฟฟ้าถึง 160 กิโลวัตต์ ตอนเครื่อง อินิแอคถูกเปิดทำงานครั้งแรกนั้น หลอดไฟฟ้าถึงกับหรี่สลัวทั่วเมืองฟิลาเดลเฟีย ที่ซึ่งเครื่องนี้ถูกสร้าง
ผลงาน : คอมพิวเตอร์อินิแอค ENIAC



John von Neumann
จอห์น วอน นอยแมน

ประวัติ : อห์น วอน นอยแมน (John von Neumann) เกิดวันที่ 23 ธันวาคม 1903 ที่เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี  เสียชีวิต วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1957 ที่สหรัฐอเมริกา เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี มีผลงานสำคัญในหลายสาขา ทั้ง ควอนตัมฟิสิกส์, ทฤษฎีเซ็ต, วิทยาการคอมพิวเตอร์, เศรษฐศาสตร์
          นอยแมนเป็นคนคิดสถาปัตยกรรมแบบ วอน นอยแมน ซึ่งใช้กันในคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ คอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดในโลกนี้ เป็นเครื่องจักรแบบ วอน นอยแมน เขาเป็นผู้ริเริ่มสาขา cellular automata และได้สร้างตัวอย่างชุดแรกของ selff-replicating automata โดยใช้แค่กระดาษกราฟ กับ ดินสอธรรมดาๆ คำว่าเครื่องจักรแบบ วอน นอยแมน ยังหมายความถึง เครื่องจักรที่สร้างตนเองซ้ำได้ (self-replicating machine)
ผลงาน : สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ แบบนอยแมน



Dr.Ted Hoff
ดร. เท็ด ฮอฟฟ์

ประวัติ : ดร. เท็ด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) แห่งบริษัทอินเทล (Intel Corporation) ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ชื่อรุ่นคือ Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้เจึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย
ผลงาน : ประดิษฐ์ไมโครโพรเซสเซอร์



Steve Jobs & Steve Wozniak
สตีฟ จอบส์ & สตีฟ วอซเนียก

ประวัติ : ปี 1970  วอซเนียก (เกิด วันที่11 สิงหาคม พ.ศ. 2493) ได้รู้จักกับสตีฟ จ๊อบส์ (เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 - 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011) เนื่องจากมีงานฤดูร้อนในธุรกิจเดียวกัน และกลายเป็นเพื่อนกันในที่สุด จ๊อบส์และวอซเนียกได้ขายทรัพย์สินบางส่วนได้เงินประมาณ 1,300 เหรียญ และได้ร่วมกันประกอบคอมพิวเตอร์ต้นแบบซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของแอปเปิ้ล
        1 เมษายน 1976  จ๊อบส์และวอซเนียกก็ได้ก่อตั้ง Apple Computer โดยที่วอซเนียกได้ลาออกจากงานของเขาที่ Hewlett-Packard และทำงานในแผนกการวิจัยและการพัฒนาที่แอปเปิ้ล ผลิตภัณฑ์แรกของพวกเขาคือให้คอมพิวเตอร์ Apple I ในยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยจ๊อบส์และว๊อซเนียกได้ขายคอมพิวเตอร์ 100 เครื่องแรกให้กับ Paul Terrell ในการเปิดร้านคอมพิวเตอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า Byte Shop ในเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย
ผลงาน : เป็นผู้สร้างคอมพิวเตอร์ Apple I , Apple IIและเป็นผู้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์แอปเปิล ซีรีส์ 2, เครื่องคอมพิวเตอร์แมค, ไอโฟนและไอแพด



Bill Gates
บิล เกตส์

ประวัติ : บิล เกตส์ (Bill Gates)เกิดวันที่ 20 ตุลาคม 1955  ที่เมืองซีแอทเทิล กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เขาเป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ที่ครองตลาดผู้ใช้มากที่สุดคือบริษัทไมโครซอฟต์ และเป็นหนึ่งบุคคลที่รวยที่สุดในโลก ปัจจุบันเขาเป็นหัวหน้าบริษัท ซึ่งเขาได้ร่วมกับพอล อัลเลน (Paul Allen) ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1974 ด้วยวัยเพียง 19 ปี แต่พอล อัลเลนได้ออกไปทำธุรกิจของตนเองเมื่อปี 1983
ผลงาน : ภาษาเบสิค ระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ระบบปฏิบัิตการวินโดวส์ (Windows)

ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/scibook/computer/evolution/Pioneers_Babbage.htm
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/scibook/computer/evolution/Pioneers_Ada.htm
http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_03.htm
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/scibook/computer/evolution/Pioneers_Turing.htm
http://www.learn-math.info/thai/historyDetail.htm?id=Zuse
http://guru.google.co.th//guru/thread?tid=7a21d00fa45f3495
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/scibook/computer/evolution/1937.htm
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/evolution/1946.htm
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/scibook/computer/evolution/Pioneers_Neumann.htm

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว.......



ดิฉันชื่อ นางสาวเบญจวรรณ   จันทร์แจ่มศรี  ชื่อเล่น เมย์
เกิดวันเสาร์ที่  4  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2538   อายุ  19  ปี
เชื้อชาติ ไทย  สัญชาติ  ไทย  นับถือศาสนาพุทธ  กรุ๊ปเลือด  AB 
ปัจจุบันอยู่ที่  บ้านเลขที่  68/115  หมู่  7 ถนนศรีสุทัศน์  ตำบลรัษฎา  อำเภอเมือง   จังหวัดภูเก็ต  83000
กำลังศึกษาที่  มหาวิทายาลัยราชภัฎภูเก็ต  คณะวิทยาการจัดการ  สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ   ชั้นปีที่ 1
รหัสนักศึกษา  5713805121
เบอร์โทรศัพท์  080-5367237
E-mail :  fairy-tail007@hotmail.com
มีพี่น้อง  2  คน  รวมตนเองด้วย โดยตนเองเป็นบุตรคนที่  2
พี่ชายชื่อ  นายจารุพงษ์  แ ซ่เฮ้า   อายุ  24  ปี   ปัจจุบันทำงานแล้ว
ชอบกินหมูผัดสะตอ  หมูแกงส้ม
ชอบสีเขียว
งานอดิเรก  ดูหนัง  ฟังเพลง เล่นเกมส์
ชอบหนังแนว  แอคชั่น กราฟฟิค
คติประจำใจ  ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่ออนาคตข้างหน้าที่ดี